ในยุคที่ทุกคนต่างให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพมากขึ้น แต่ก็ยังมีโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน หนึ่งในเชื้อโรคที่ระบาดอยู่ในปัจจุบันที่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยนัก คือ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) บทความนี้จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่สาเหตุของการติดเชื้อ อาการที่ควรระวัง ไปจนถึงวิธีการป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เพื่อให้คุณและคนรอบข้างมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากความเสี่ยงของโรค
ไมโคพลาสมา คือ แบคทีเรียขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่ปราศจากผนังเซลล์ ซึ่งทำให้แตกต่างจากแบคทีเรียทั่วไป เชื้อชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่พบว่าทำให้เกิดการติดเชื้อในคนได้บ่อย คือ Mycoplasma pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ
โดยที่การติดเชื้อชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แต่มักพบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น เมื่อติดเชื้อไมโคพลาสมาจะส่งผลให้อวัยวะในระบบทางเดินหายใจของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น ลำคอ ปอด และหลอดลมเกิดความเสียหายได้ และยังสามารถก่อให้เกิดอาการนอกระบบทางเดินหายใจได้ อาทิ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ และข้ออักเสบ โดยทั่วไป การติดเชื้อ Mycoplasma pneumoniae มักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่ในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
เชื้อไมโคพลาสมานั้นสามารถแพร่ระบาดตลอดปี โดยแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านของเหลวของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น การสูดหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยผ่านการไอหรือจามเข้าไป มีระยะฟักตัวประมาณ 1-4 สัปดาห์ โดยผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ในช่วงก่อนแสดงอาการจนถึงช่วงที่เริ่มมีอาการป่วย ด้วยเหตุผลนี้ทำให้การอยู่ในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก สถานที่ปิดหรือแออัด จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดนี้ได้มาก
เชื้อไมโคพลาสมาทำให้เกิดอาการได้หลายระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการของระบบทางเดินหายใจ โดยอาจเป็นได้ทั้งคออักเสบ หลอดลมอักเสบ ไปจนถึงปอดอักเสบ นอกจากนี้เชื้อไมโคพลาสมาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบอื่น ๆ เช่น สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โลหิตจางจากเม็ดโลหิตแดงแตก ผื่นผิวหนังอักเสบ
อาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไมโคพลาสมามักเกิดขึ้นหลังจากร่างกายได้รับเชื้อไปแล้ว 1–4 สัปดาห์ โดยลักษณะอาการในผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะแตกต่างกันไป แต่อาการที่มักพบร่วมกัน คือ
ติดเชื้อไมโคพลาสมาส่วนใหญ่จะมีอาการติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ โดยอาการไข้อาจหายก่อน แต่ยังมีอาการไออยู่มากกว่า 3 สัปดาห์ จากนั้นอาจหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา หากมีอาการนานและหนักกว่าที่ได้กล่าวไป อาจมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดการติดเชื้อนอกระบบทางเดินหายใจ เช่น อาจเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบได้
การติดเชื้อไมโคพลาสมาส่วนใหญ่จะไม่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ที่รุนแรง แต่มีบางกรณีที่ผู้ที่ติดเชื้อเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น
การรักษาโรคติดเชื้อไมโคพลาสมาโดยส่วนใหญ่สามารถแบ่งการรักษาเป็น 2 ประเภท ดังนี้
หากสงสัยว่าตัวเองอาจได้รับเชื้อไมโคพลาสมาและพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ หรือเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเกิดตามมา
นอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว ที่สำคัญอย่าลืมเพิ่มความอุ่นใจเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยประกันสุขภาพ Basic Work & Play จากชับบ์ คลายกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลหากเจ็บหนักติดเชื้อทางเดินหายใจ/ทางเดินอาหาร และโรคมะเร็งระยะลุกลาม ด้วยความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และ/หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
หมายเหตุ
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2025 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง